วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แรงและการเคลื่อนที่

1.เวกเตอร์ของแรง
          แรง หมายถึง สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุอยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่่ของวัตถุได้
ปริมาณทางฟิสิกส์มี2ชนิด
         1.ปริมาณเวกเตอร์ หมายถึง ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เช่น แรง,ความเร็ว,ความเร่ง
         2.ปริมาณสเกลาร์ หมายถึง ปริมาณที่มีแต่ขนาดอย่างเดียว เช่น เวลา,พลังงาน,ความยาว,อุณภูมิ,พื้นที่,ปริมาตร,อัตราเร็ว
ปริมาณเวกเตอร์
การเขียนเวกเตอร์ของแรง
         ใช้ความยาวของส่วนเส่นตรงแทนขนาดของแรง และหัวลูกศรแสดงทิศทางของแรง

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางวิทย์ศาสตร์แบ่งได้2ระดับ13ทักษะ
1.ทักษะกระบวนการขั้นพื้นฐาน
      1.การสังเกคุ
      2.การวัด
      3.การการคำนวน
      4.การการจำแนกประเภท
      5.การหาความสัมพันธ์ระหล่างสเปสกับสเปสและสเปสและเวลา
      6.การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
      7.การลงความคิดเห็นจากข้อมูล
      8.การพยากรณ์
2.ทักษะการพยากรณ์
      1.การตั้งสมมติฐาน
      2.การกำหนดนิยามเชิงปฐิบัติการ
      3.การกำหนดและควบคุมตัวแปร
      4.การออกแบบและดำเนินการทดลอง
      5.การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป

วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เมฆ

          เมฆ คือ น้ำในอากาศเบื่้องสูงที่อยู่ในสถานะเป็นหยดน้ำและผลึกน้ำแข็ง และอาจมีอนุภาคของของแข็งอยู่ในรูปของควันและฝุ่นที่แขวนลอยอยู่ในอากาศรวมอยู่ด้วย
          กลุ่มคำที่ใช้บรรยายลักษณะของเมฆชนิดต่างๆมีอยู่5กลุ่มคือ
เซอร์โร     เมฆระดับสูง
อัลโต     เมฆระดับกลาง
คิวมูลัส    เมฆเป็นก้อนกระจุก
สเตรตัส     เมฆเป็นชั้นๆ
นิมบัส     เมฆก่อให้เกิดฝน

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บรรยากาศ

อากาศและบรรยากาศ
          อากาศ ที่ห่อหุ้มโลกอยู่ทั้งหมด เรียกว่าบรรยากาศ ส่วนอากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่เฉพาะส่วนเรียกว่า อากาศเป็นสิ่งที่อยู่ในสถานะแก็ส มีส่วนประกอบต่างๆในอัตราส่วนที่ต่างกันไป อากาศประกอบด้วยสิ่งต่างๆดังนี้
          1.ไนโตรเจน เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อนละ78โดยประมาณ
          2.ออกซิเจน เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ21โดยประมาณ ออกซิเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสันดาบ พืชและสัตว์ต้องใช้ออกซิเจนในการหายใจ
          3.คาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนที่อยู่ในอากาศประมาณร้อยละ0.04โดยประมาณ พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์แสง
          4.แก็สเฉื่อย เป็นแก็สที่ไม่มีความว่องไวต่อปฎิกิริยาทางเคมีใดๆ
                                                      

วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

หน่วยของสิ่งมีชีวิต

เซลล์
          เทียดอร์ ชวาน และแมทเทียส จาคอบ ชไลเดนตั้งทฤษฎีเซลล์เมื่อ ค.ศ.1839โดยกล่าวว่า"สิ่งมีชีวิตทั้งมวลประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์"
          เซลล์ จึงเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด มีการทำงานอย่างซับซ้อนมีรูปร่างหน้าที่และส่วนประกอบแตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตที่มีหน่วยนี้หน่วยเดียว เรียกว่า พวกเซลล์เดียว ถ้าสิ่งมีชิตมีหน่วยเซลหลายหน่วย เรียกว่า พวกหลายเซลล์ อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตบางอย่างไม่ได้มีลักษณะเป็นเซลล์ แต่เป็นสิ่งมีชีวิต เช่น ไวรัส และไวรอยต์เป็นต้น
เซลล์แบ่งตามลักษณะนิวเครียสได้2ประเภท
          1.เซลล์โปรตาริโอค ไม่มีเนื้อเยื่อหุ้มนิวเครียส นิวเครียสประกอบด้วยโครโมโซมเพียงเส้นเดียวซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวน สิ่งมีชีวิตที่มีเซลแบบโพรคาริโอต
          2.เซลล์คาริโอต มีเยื้อหุ้มนิวเคลียส สารพันธุกรรมจะอยู่ภายในนิวเคลียส สิ่งมีชีวิตทั่วไปไม่ใช้แบคทีเรียกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจะเป็นเซลล์ประเภทนี้
                                                   

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

ทักษะการควบคุมคัวแปร

          หมายถึง ความสามารถในการชี้บ่ง หรือกำหนดสิ่งที่เป็นตัวแปรต้น ตัวแปนตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมุติฐาน
          ตัวแปร คือ สิ่งที่เปลียนไปเมื่ออยู่ในสถานการณ์ใดสถานหนึ่ง มี 3 ชนิดคือ
          1.ตัวแปรตั้น คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่างๆหริอสิ่งตที่ต้องทดลอง ติดตามดูว่าเป็นจริงหรือไม่
          2.ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรตาม หรือผลการทดลองที่ติดตามดูหรือเฝ้าสังเกตุดูเป็นอย่างไร
          3.ตัวแปรควบคุมคุม คือ สิ่งอื่่นๆนอกเหนือจากตัวแปรต้น และตัวแปรตามที่เราต้องควบคุมให้คงที่
ตัวอย่าง
สมมติฐาน"วิธีเก็บผลมะนาวไว้ในทรายจะเก็บได้ยานเท่าเก็บไว้ในแกลบ"
                  1.ตัวแปรตั้น คือ ทราย และ แกลบ
                  2.ตัวแปรตาม คือ สภาพความสดของมะนาว
                  3.ตัวแปรควบคุม คือ 1.จำนวนผลมะนาวต้องเท่ากันทั้งจำนวนและขนาด
                                                   2.ปริมาณแกลบกับทราย
                                                   3.สถานที่เดียวกัน
                                                   4.อุณหภูมิ
                                                   5.ลักษณะภาชนะที่ใส่ทดลอง
                                                   6.ระยะเวลาสังเกตุ
จาการตังสมมติฐาน วิธีการยืดการเน่าเสียของผลมะนาว

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557

คำกริยา

        คำกริยาเป็นคำที่บอกอาการ หรือบอกสภาพของคน สัตว์ พืช สิ่งของ เครื่องใช้เช่น
ยิ้ม วิ่ง ล้ม กิน ตี เป็นกริยาบอกอาการ
อ้วน ผอม ฉลาด โง่ เป็นกริยาบอกสภาพ
อ่านและพิจารณาประโยคต่อไปนี้
1ภูเขาถล่มเมื่อวานนี้
2รถกระบะวิ่งลับหายไป
        คำว่า ถล่ม วิ่งไม่ต้องมีกรรมมาตามหลังก็ได่ใจความ คำกริยาประเภทนี้เรียกว่าคำกริยาอกรรม
3คุณยายเย็บกระทง
4ช่างสลักกาบกล้วยให้เป็นลวดลาย
คำว่าเย็บ สลัก ต้องมีกรรมต้องมีกรรม คือ คำกระทง กาบกล้วย(คำที่พิมพ์ตัวเอนหนา)ตามหลังจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ คำกริยาประเภทมี้เรียกว่าคำกริยาสกรรม
5เขาเหมือนฉัน
6ข้าวเป็นอาหารของคนไทย
7ผลกล้วยตานีแตกต่างจากผลกล้วยชนิดอื่นคือเมล็ดมาก
        คำว่า เหมือน เป็น คือ เป็นคำกริยาที่ต้องมีคำนาม หรือสรรพนาม ซึ่งทำหน้าที่ตามหลังเสมอ เรียกว่าคำกริยาต้องเติม คำกริยาประเภทนี้ยังมีอีก นักเรียนควรศึกษาเพิ่มเติม

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิทยาศาสตร์

                 บทเรียน วิทยาศาสตร์ ป.6 หน่วยที่ 4 เรื่อง ไฟฟ้าน่ารู้


หน่วยที่ 4 เรื่อง ไฟฟ้าน่ารู้

                วงจรไฟฟ้า หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลมาจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวนำ 
และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด แล้วไหลกลับไปยังแหล่งกำเนิดเดิม

วงจรไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ



1. แหล่งกำเนิดไฟฟ้า หมายถึง แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้า เช่นแบตเตอรี่


2. ตัวนำไฟฟ้า หมายถึง สายไฟฟ้าหรือสื่อที่จะเป็นตัวนำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต่อระหว่างแหล่งกำเนิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้า


3. เครื่องใช้ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องใช้ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่น ซึ่งจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โหลด


สำหรับสวิตซ์ไฟฟ้านั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานให้มีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่มีสวิตซ์ไฟฟ้าก็จะไม่มีผลต่อการทำงานวงจรไฟฟ้าใดๆ เลย

การต่อวงจรไฟฟ้าสามารถแบ่งวิธีการต่อได้ 3 แบบ คือ


1. วงจรอนุกรม เป็นการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่ กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อกับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น ถ้าเกิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเปิดวงจรหรือขาด จะทำให้วงจรทั้งหมดไม่ทำงาน



คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม


1. กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันตลอดวงจร


2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด


3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจรรวมกัน



2. วงจรขนาน เป็นการนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวมาต่อรวมกัน และต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดที่จุดหนึ่ง นำปลายสายของทุกๆ ตัวมาต่อรวมกันและนำไปต่อกับแหล่งกำเนิดอีกจุดหนึ่งที่เหลือ ซึ่งเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอันต่อเรียบร้อยแล้วจะกลายเป็นวงจรย่อย กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะสามารถไหลได้หลายทางขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาต่อขนานกัน ถ้าเกิดในวงจรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสามารถทำงานได้ ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยปัจจุบันจะเป็นการต่อวงจรแบบนี้ทั้งสิ้น



คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรขนาน


1. กระแสไฟฟ้ารวมของวงจรขนาน จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยที่ไหลในแต่ละสาขาของวงจรรวมกัน


2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร จะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด


3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่น้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร




3. วงจรผสม เป็นวงจรที่นำเอาวิธีการต่อแบบอนุกรม และวิธีการต่อแบบขนานมารวมให้เป็นวงจรเดียวกัน ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะของการต่อได้ 2 ลักษณะดังนี้


3.1 วงจรผสมแบบอนุกรม-ขนาน เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างอนุกรมก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบขนานอีกครั้งหนึ่ง


3.2 วงจรผสมแบบขนาน-อนุกรม เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างขนานก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบอนุกรมอีกครั้งหนึ่ง



คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรผสม


เป็นการนำเอาคุณสมบัติของวงจรอนุกรม และคุณสมบัติของวงจรขนานมารวมกัน ซึ่งหมายความว่าถ้าตำแหน่งที่มีการต่อแบบอนุกรม ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่ออนุกรมมาพิจารณา ตำแหน่งใดที่มีการต่อแบบขนาน ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่อขนานมาพิจารณาไปทีละขั้นตอน