วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

หน่วยของสิ่งมีชีวิต

เซลล์
          เทียดอร์ ชวาน และแมทเทียส จาคอบ ชไลเดนตั้งทฤษฎีเซลล์เมื่อ ค.ศ.1839โดยกล่าวว่า"สิ่งมีชีวิตทั้งมวลประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์"
          เซลล์ จึงเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด มีการทำงานอย่างซับซ้อนมีรูปร่างหน้าที่และส่วนประกอบแตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตที่มีหน่วยนี้หน่วยเดียว เรียกว่า พวกเซลล์เดียว ถ้าสิ่งมีชิตมีหน่วยเซลหลายหน่วย เรียกว่า พวกหลายเซลล์ อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตบางอย่างไม่ได้มีลักษณะเป็นเซลล์ แต่เป็นสิ่งมีชีวิต เช่น ไวรัส และไวรอยต์เป็นต้น
เซลล์แบ่งตามลักษณะนิวเครียสได้2ประเภท
          1.เซลล์โปรตาริโอค ไม่มีเนื้อเยื่อหุ้มนิวเครียส นิวเครียสประกอบด้วยโครโมโซมเพียงเส้นเดียวซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวน สิ่งมีชีวิตที่มีเซลแบบโพรคาริโอต
          2.เซลล์คาริโอต มีเยื้อหุ้มนิวเคลียส สารพันธุกรรมจะอยู่ภายในนิวเคลียส สิ่งมีชีวิตทั่วไปไม่ใช้แบคทีเรียกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจะเป็นเซลล์ประเภทนี้
                                                   

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

ทักษะการควบคุมคัวแปร

          หมายถึง ความสามารถในการชี้บ่ง หรือกำหนดสิ่งที่เป็นตัวแปรต้น ตัวแปนตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมุติฐาน
          ตัวแปร คือ สิ่งที่เปลียนไปเมื่ออยู่ในสถานการณ์ใดสถานหนึ่ง มี 3 ชนิดคือ
          1.ตัวแปรตั้น คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่างๆหริอสิ่งตที่ต้องทดลอง ติดตามดูว่าเป็นจริงหรือไม่
          2.ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรตาม หรือผลการทดลองที่ติดตามดูหรือเฝ้าสังเกตุดูเป็นอย่างไร
          3.ตัวแปรควบคุมคุม คือ สิ่งอื่่นๆนอกเหนือจากตัวแปรต้น และตัวแปรตามที่เราต้องควบคุมให้คงที่
ตัวอย่าง
สมมติฐาน"วิธีเก็บผลมะนาวไว้ในทรายจะเก็บได้ยานเท่าเก็บไว้ในแกลบ"
                  1.ตัวแปรตั้น คือ ทราย และ แกลบ
                  2.ตัวแปรตาม คือ สภาพความสดของมะนาว
                  3.ตัวแปรควบคุม คือ 1.จำนวนผลมะนาวต้องเท่ากันทั้งจำนวนและขนาด
                                                   2.ปริมาณแกลบกับทราย
                                                   3.สถานที่เดียวกัน
                                                   4.อุณหภูมิ
                                                   5.ลักษณะภาชนะที่ใส่ทดลอง
                                                   6.ระยะเวลาสังเกตุ
จาการตังสมมติฐาน วิธีการยืดการเน่าเสียของผลมะนาว

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557

คำกริยา

        คำกริยาเป็นคำที่บอกอาการ หรือบอกสภาพของคน สัตว์ พืช สิ่งของ เครื่องใช้เช่น
ยิ้ม วิ่ง ล้ม กิน ตี เป็นกริยาบอกอาการ
อ้วน ผอม ฉลาด โง่ เป็นกริยาบอกสภาพ
อ่านและพิจารณาประโยคต่อไปนี้
1ภูเขาถล่มเมื่อวานนี้
2รถกระบะวิ่งลับหายไป
        คำว่า ถล่ม วิ่งไม่ต้องมีกรรมมาตามหลังก็ได่ใจความ คำกริยาประเภทนี้เรียกว่าคำกริยาอกรรม
3คุณยายเย็บกระทง
4ช่างสลักกาบกล้วยให้เป็นลวดลาย
คำว่าเย็บ สลัก ต้องมีกรรมต้องมีกรรม คือ คำกระทง กาบกล้วย(คำที่พิมพ์ตัวเอนหนา)ตามหลังจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ คำกริยาประเภทมี้เรียกว่าคำกริยาสกรรม
5เขาเหมือนฉัน
6ข้าวเป็นอาหารของคนไทย
7ผลกล้วยตานีแตกต่างจากผลกล้วยชนิดอื่นคือเมล็ดมาก
        คำว่า เหมือน เป็น คือ เป็นคำกริยาที่ต้องมีคำนาม หรือสรรพนาม ซึ่งทำหน้าที่ตามหลังเสมอ เรียกว่าคำกริยาต้องเติม คำกริยาประเภทนี้ยังมีอีก นักเรียนควรศึกษาเพิ่มเติม