วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วันอาสาฬหบูชา

   

          วันอาสาฬหบูชา 2559 ตรงกับวันอังคารที่ 19 กรกฎาคม โดยวันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมเทศนา หรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก
สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน คงทราบกันดีว่า ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี 2559 วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันอังคารที่ 19 กรกฎาคม (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8) แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบความเป็นมาเกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชาเท่าใดนัก ดังนั้นวันนี้เรามีประวัติวันอาสาฬหบูชามาฝาก

         ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8

         วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี

        ทั้งนี้พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ




สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ

1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
           การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค
           การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่

1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง

2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม

3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต

4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต

5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต

6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี

7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด

8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่

1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด

2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ

3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา

4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น

กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา

พิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้ คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเรา ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส


ที่มา:http://hilight.kapook.com/view/26024

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ระบบย่อนอาหาร

การย่อยมี2ลักษนะคือ
1)การย่อยเชิงกล เป็นการทำให้อาหารเล็กลงโดยการบดเคี้ยว
2)ก่อรย่อยทางเคมี เป็นการกระทำให้ขนาดเล็กลงที่สุด
ทางเดินอาหารประกอบด้วย
ปาก ภายในปากมีส่วนประกอบคือ ลิ้น ฟัน และต่อมน้ำลาย
การย่อยอาหารในปากจึงมีทั้งเชิงกลและเคมี
ฟัน ฟันคนมี2ชนิด คือ ฟันน้ำนม และฟันแท้
ลิ้น ทำหน้าที่ช่วยคลุกเคล้าอาหาร รับรส
ต่อมน้ำลาย ทำหน้าที่ผลิตน้ำลายและสร้างน้ำย่อยอะไมเลส
คอหอย เป็นทางผ่านของอาหาร
หลอดอาหาร ทำหน้าที่ขนส่งอาหารยาวประมาณ25ซม.
กระเพาะอาหาร การย่อยเชิงกล โดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อ
                         การย่อยเชิงเคมี มีน้ำย่อย เปปซิน
ลำไส้เล็ก ยาวประมาณ7เมตร การย่อยอาหารเกิดจากอวัยวะ3ชชนิด คือ ตับอ่อน ผนังลำไส้เล็ก และตับ
ลำไส้ใหญ่ ขับถ่ายอุจจาระ

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หัวใจ

หัวใจของมนุษย์อยู่ระหว่างปอดทั้ง2ข้าง ค่อนมาทางซ้ายเล็กน้อย ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย หัวใจคนแบ่งออกเป็น4ห้อง ห้องบน2ห้อง ซึ่งเรียกว่าเอเทรียม(atrium)มีผนังบางส่วนห้องล่างมีผนังหนา เรียกว่า เวนทริเคิล(venticle)ระหว่างห้องบนและห่องล่างมีลิ้นหัวใจ(valve)คอยปิด-เปิดเพื่อปกป่องกันเลือดไหลย้อนกลับ

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการขอองวัยรุ่น

2.สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพันธุกรรม และในบางกรณีกลับมีความสำคัญยิ่งกว่าองค์ประกอบอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสิ่งแวดล้อมนั้นๆ เป็นไปอย่างสมบูรณ์ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อตัวเด็ก
ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อวัยรุ่นมีหลายอย่าง เช่น สถานเริงรมย์ การดื่มเครื่องดืมที่มีแอลกอฮอล์ การเสพสารเสพติด
สิ่งแวดล้อมอีกอย่างหนึ่งที่มีบทบาทต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นก็คืออาหาร เนื่งจากวัยรุ่นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และร่างกายต้องใช้พลังงานมาก จึงต้องเพิ่มอาหารให้มากขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการขอองวัยรุ่น

พันธุกรรม
พันธุกรรม หมายถึง ปรากฏการณ์ที่สิ่งมีชีวิตถ่ายทอดลักษณะต่างๆจากรุ่นหนึงไปสู่รุ่นหนึ่ง หรือเป็นลักษณะทางร่างกายและพฤติกรรมของบุคคลที่ได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษโดยทอดมาจากบรรพบุษโดยการสืบสายเลือด
ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ปรากฏเด่นชัด ได้แก่
-ลักษณะทางกาย เช่น รูปร่าง สีผิว ควาถนัดของมือ เป็นต้น
-ลักษณะทางจิตใจและสติปัญญา เช่น อารมณ์ สติปัญญา เป็นต้น
-โรคทางกายบางอย่าง เช่น เบาหวาน เป็นต้น
-โรคจิตบางอย่าง เช่น โรคจิตบางประเภท เป็นต้น
-ชนิดของหมู่เลือด ได้แก่ หมู่เลือด A B O และAB

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทเสภาสามัคคีเสวก

ตอน สามัคีเสวก
ถึงเสวีที่เป็นข้าฝ่าพระบาท         ไม่ควารขาดความสมัครสโมสร
ในพระราชสำนักพระภูธร            เหมือนเรือแล่นสาครสมุทรไทย
เหล่าเสวกตกที่กะลาสี               ควรคิดถึงหน้าที่นั้นเป็นใหญ่
รักษาตนเคร่งคงตรงวินัย           สมานใจรักพระจักรี
ไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชัง            สามัคคีคเป็นกำลังพลังศรี
คสรปลองดองในหมู่ราชเสวี      ให้สมที่ร่วมพระเจ้าเราองค์เดียว

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทเสภาสามัคคีเสวก

ตอนวิศวกรรมา
ควรไทยเราช่วยบำรุงวิชาช่าง                      เครื่องสำอางแบบไทยสโมสร
ช่วยบำรุงช่างไทยให้ถาวร                           อย่าให้หย่อนกว่าเขาเราจะอาย
อันของชาติไพรัชช่างจัดสรร                       เป็นหลายอย่างต่างพรรเข้ามาขาย
เราต้องซื้อหลากหลากและมากมาย            ต้องใช้ทรัพย์สุรุ่ยสุร่ายเป็นก่ายกอง
แม้พวกเราชาวไทยตั้งใจช่วย                      เอออำนวยช่างไทยให้ทำของ
ช่างคงใฝ่ใจผูกถูกทำนอง                            และทำของงามงามขึ้นตามกาล
เราช่วยช่างเหมือนอย่างช่วยบ้านเมือง        ได้ประเทืองเทศไทยอันไพศาล
สมเป็นเมืองใหญ่โตมโหฬาร                       พอไม่อายเพื่อนบ้านจึ่งจะดี